RSS

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เขียน Blog

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เขียน Blog ครับ ไม่เหมือนปีที่แล้วที่เขียนมันได้สัปดาห์ละเรื่อง

ถามว่าขี้เกียจแล้วหรอ …. ก็เปล่าหรอกครับ แต่ว่าช่วงนี้มีโปรเจคอื่นที่กำลังทำอยู่ ซึ่งก็คือ …

  1. อ่านหนังสือให้ได้สัปดาห์ละเล่ม … ตอนนี้ก็ยังห่างไกลจากเป้าอยู่เยอะ แต่ก็เป็นปีที่ได้อ่านหนังสือเยอะมากกกกก (ไม่นับหนังสือการ์ตูนด้วยนะ เอาแต่หนังสือเล่มๆจริงๆ ถ้านับการ์ตูนก็ได้ไปอีกบานเลย)
  2. ออกแบบเกมส์ครับ … ตอนนี้ กำลังบ้าเกมส์กระดานครับ (board game) เล่นๆอยู่ก็นึกคึกว่าเราน่าจะออกแบบเกมส์แบบนี้ได้ ช่วงนี้ว่างๆก็คิดแต่เรื่องสร้างเกมส์ครับ

ก็ไม่มีอะไรมากครับ ก็แค่เข้ามาอัพเดท Blog บ้าง แต่ไม่รู้จะเล่าอะไร เลยมาเล่าให้ฟังว่าผมทำอะไรอยู่ 😀

Image

 
 

คู่บารมี

พระสิทธัตถะ ทรงอภิเษกสมรสกับ พระนางพิมพายโสธรา

พระสิทธัตถะ ทรงอภิเษกสมรสกับ พระนางพิมพายโสธรา

 

วันนี้อยู่ดีๆก็นึกถึงพุทธประวัติตอนช่วงอดีตชาติของพระพุทธเจ้ากับพระนางพิมพาขึ้นมาได้เรื่องนึง ครับ

***************************************************************

เป็นเรื่องอดีชาติ สมัยศาสนาของ พระตัณหังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าของเรา ท่านได้เกิดเป็น กุมารหนุ่ม น้อย และได้ออกบรรพชาเป็นสามเณรชื่อ “เจ้าธรรมรักขิตสามเณร” ส่วนพระนางพิมพา ท่านได้เกิดเป็น สตรีในหมู่บ้านใกล้ๆวัด ท่านมีนามว่า “ปัญญากุมารี”

วันนึงมีงานเทศกาล ชาวบ้าน ก็ไปทำบุญกัน ตามธรรมเนียมประเพณี ทีนี้ นาง“ปัญญากุมารี” ซึ่งได้มีความรักใคร่ใน “เจ้าธรรมรักขิตสามเณร” มานาน จึงกระทำมายาให้สามเณรรู้ว่าตนเสน่ห์หาถือขันน้ำเจาะจงไปสรงน้ำสามเณร

เจ้าธรรมรักขิตสามเณรก็จับมือนางด้วยความยินดีรักใคร่ ซึ่งก็เป็นเหตุให้ต้องสึกในวันนั้นนี้เอง แต่ท่านทั้งสองก็ได้อยู่กินด้วยกันเป็นสามีภรรยา แต่อยู่ด้วยกันได้แค่ 7 วัน ท่านก็กลับไปบวชใหม่ เป็นพระอยู่ได้ 1 พรรษา ก็สึกออกมาครองเรือนเป็นสามีภรรยากับปัญญากุมารีอีกครั้ง

ด้วยเหตุการณ์ในอดีตชาติครั้งนี้ ในชาติสุดท้าย พระนางพิมพา ได้กล่าวขอขมาต่อพระพุทธเจ้า เนื่องด้วยอดีตชาติก่อน(ที่ได้เล่าไปนี้) เคยทำให้พระพุทธเจ้าต้องสละจากเพศบรรพชิต

***************************************************************

วันนี้สั้นๆแค่นี้หล่ะครับ

จริงๆแล้วในบรรดาพระสาวกทั้งหมด ผมชอบประวัติของพระนางพิมพามาครับ ไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน ผมก็ร่ำๆจะเขียนประวัติท่านมาหลายทีละ แต่ว่า ก็ไม่ได้เขียนซักที 😀

 

Tags: ,

กรณียเมตตสูตร : ที่มาคาถาแบบสั้นๆ

บทสวด “เมตตากรณียสูตร” เป็นบทสวดที่ดังมากบทหนึ่งครับ พวกเราต่างรู้จักกันดี ว่าสวดแล้ว เทวาดรัก ผีไม่มารบกวน

วันนี้มาฟังเรื่องที่มาของคาถาบทนี้กันครับ

*************************************************************

เรื่องมันมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งครับ มีพระภิกษุจำนวน 500 รูป ได้เรียนรู้การปฏิบัติกรรมฐานจากพระพุทธเจ้า แล้วก็ออกเดินทางไปหาที่เหมาะๆสำหรับปฏิบัติธรรม พวกท่านได้ไปพบภูเขาแห่งหนึ่ง บรรยากาศดี มีต้นไม้ร่มรื่น น้ำเย็นใสสะอาด

พวกท่านก็ได้พักอยู่คืนนึงแล้วตอนนเช้าก็ได้ออกไปบิณฑบาทที่หมู่บ้านใกล้ๆ ชาวบ้านนั้นก็ดีใจมาก ที่มีพระมาพักอยู่ใกล้ๆ เพราะไม่ค่อยมีพระมาอยู่เลย ชาวบ้านเลยนิมนต์ให้พระอยู่ประจำที่ตรงนั้น แล้วก็จัดแจงช่วยกันสร้างกุฏิแล้วหาเครื่องใช้ต่างๆเช่น เตียง ตั่ง มาให้

ทีนี้พระท่านก็ตั้งใจปฏิบัติธรรมตลอดวันตลอดคืน โดยพวกท่านก็ออกมานั่งสมาธิกันอยู่ที่โคนไม้

เรื่องมันเกิดตรงนี้หล่ะครับ รุกขเทวดาที่อยู่ประจำต้นไม้ต่างๆ พอมีพระมานั่งใต้ต้นไม้ ท่านก็อยู่ในต้นไม้ไม่ได้ ต้องพาครอบครัวออกมานอกต้นไม้ (จริงๆนะ ในอรรถคถาเขียนไว้แบบนี้ ^ ^) พวกเทวดาก็ได้แต่ออกมารอด้านแล้ว อยู่อย่างระหกระเหิน แล้วก็คอยแต่เฝ้าดูว่า เมื่อไหร่พระท่านจะไปซักที

ทีนี้พวกเทวดาท่านก็มาประชุมกันแล้วคิดว่า พระท่านเข้าพรรษาแล้ว คงจะต้องอยู่ตรงนี้ไปอีกอย่างน้อย3เดือน พวกเราไม่สามารถให้ลูกๆของเราอยู่ระหกระเหินได้นานขนาดนั้น … อย่ากะนั้นเลย พวกเรามาขู่ให้พระท่านกลัวดีกว่า ท่านจะได้ไปจากโคนไม้ของเรา

เท่านั้นหล่ะครับ พอตกกลางคืน เหล่าเทวดาก็แปลงร่างเป็นผี กลิ่นเหม็นเน่า ออกมาหลอกพระ  ^ ^” พระท่านก็กระเจิงสิครับ สติไม่เหลือ อยู่กันด้วยความหวาดกลัว ผิวพรรณเริ่มหมองคล้ำ ไม่สดใสเหมือนเดิม

แต่ว่าพระท่านก็ดีนะครับ ไม่เล่าให้คนอื่นฟังเลยว่าตัวเองเจอผี ทั้งๆที่เจอเหมือนๆกันทุกท่าน จนมาวันนึงพวกพระท่านได้ออกมาประชุมกัน และได้พูดคุยกัน เลยรู้ว่า โดนผีหลอกกันถ้วนหน้า

พวกท่านก็เห็นตรงกันว่า ที่ตรงนี้ไม่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมแล้ว พวกเรากลับไปหาพระพุทธเจ้ากันดีกว่า ว่าแล้วพวกท่านก็เก็บข้าวของและออกเดินทางทันที

เมื่อถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ก็พากันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าพบเข้าก็ถามว่า อยู่ในพรราษา พระท่านออกเดินทางมาได้อย่างไร พวกพระทั้งหลายก็เล่าเรื่องให้พระพุทธเจ้าฟัง และถามพระพุทธเจ้าว่า ที่ไหนที่จะเหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมสำหรับพระเหล่านี้

พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบกลับเป็นใจความว่า “ไม่มีที่ใดอีกแล้วในชมพูทวิป ที่จะเหมาะกับท่านทั้งหลาย เท่ากับที่ที่ท่านทั้งหลายพึ่งจากมา  ถ้าพวกท่านกลับไปปฏิบัติธรรมตรงนั้น พวกท่านจะบรรลุธรรม”

และพระพุทธเจ้าท่านก็ได้ตรัสสอน “กรณียเมตตสูตร” ให้กับพระทั้งหลาย โดยบอกว่า ถ้าเธอไม่อยากมีภัยจากเทวดาทั้งหลาย ให้สวดบทนี้

พระทั้งหลายได้กลับไปยังป่าแห่งเดิน ได้สวด”กรณียเมตตสูตร” ทำเทวดาไม่มารบกวน สุดท้ายพวกท่านก็ได้บรรลุอรหันต์

*************************************************************

ต่อไปเป็นบทสวดแทรกคำแปล
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
กิจอันใดอันพระอริยเจ้า บรรลุบท กระทำบำเพ็ญแล้ว กิจอันนั้น กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำบำเพ็ญ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ ซื่อตรง เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจธุระน้อย ประพฤติเบากายจิต

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้มีอินทรีย์อันสงบระงับแล้ว มีปัญญา เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
วิญญูชน ติเตียนชนอื่นทั้งหลายได้ด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยังเป็นผู้สะดุ้ง(คือมีตัณหา) หรือเป็นผู้มั่นคง (ไม่มีตัณหา) ทั้งหมดไม่เหลือ

ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะนุกะถูลา
เหล่าใดเป็นทีฆชาติหรือโตใหญ่ หรือปานกลาง หรือต่ำเตี้ย หรือผอม หรืออ้วนพี

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็นก็ดี

เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ดี

ภูตา วา สัมภะเวสี วา
ที่เกิดแล้ว หรือกำลังแสวงหาภพอยู่ก็ดี

สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ใดๆ เลย

พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธ หรือความคุมแค้น

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยยอมสละชีวิตของตนได้ ฉันใด

เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
พึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งหลาย แม้ฉันนั้น

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ
ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น

พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
บุคคลผู้มีเมตตา ไม่เข้ายึดถือทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง
นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก

นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ
ย่อมไม่ถึงความนอน(เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว

*************************************************************

อ้างอิง

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=237&Z=267&pagebreak=0

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10

 

*************************************************************

ที่มารูป

http://www.halloween-blues.com/2012/07/ghosts-of-mario.html

http://www.zazzle.com/halloween_boo_ghost_sculpture_cut_outs-153018551586816031

 
Leave a comment

Posted by on June 22, 2013 in ธรรมะ

 

Tags:

ล้านอย่างเป็นทางการแล้วครับผม

ปีก่อน ทำแอปแจกฟรีไปครับ

ผ่านมาปีกว่าๆ ตอนนี้ยอดโหลดรวม 68,397 โหลดแล้วครับ ถ้าเอายอดโหลดไปคูณกับหนังสือในแอป ก็เท่ากับว่า แจกหนังสือไปแล้ว 1,117,893 เล่ม!

เฉลี่ยแล้ว ก็เท่ากับแจกไปวันละประมาณ 4,500 เล่มครับ

  • App Pamojjo   รวม 6,692 โหลด = 140,532 เล่ม
  • App Dungtrin  รวม  54,334 โหลด = 875,083 เล่ม
  • App DhammaDict รวม 8,971 โหลด =  17,942 เล่ม
  • App Payutto  รวม 4,016 โหลด = 84,336 เล่ม

ขออนุโมทนากับทุกท่านที่มีส่วนร่วมในแอปทั้งหลายเหล่านี้ด้วยนะครับผม

Slide1

 

ลิ้งดาวน์โหลดแต่ละแอป

Pamojjo – app รวมหนังสือทุกเล่มของพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
iOS –https://itunes.apple.com/th/app/pamojjo/id585559561?mt=8
Android – https://play.google.com/store/apps/details?id=com.dharmabooks.pamojjobooks&feature=search_result#?t=W251bGwsMSwyLDEsImNvbS5kaGFybWFib29rcy5wYW1vampvYm9va3MiXQ

Dungtrin – appรวมหนังสือทุกเล่มของคุณดังตฤณ
iOS –https://itunes.apple.com/th/app/dungtrin/id497234678?mt=8
Android – https://play.google.com/store/apps/details?id=com.dungtrin.dungtrinbooks.fullcollection&feature=more_from_developer#?t=W251bGwsMSwxLDEwMiwiY29tLmR1bmd0cmluLmR1bmd0cmluYm9va3MuZnVsbGNvbGxlY3Rpb24iXQ..

DhammaDict – app พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ได้นำคำศัพท์ใน พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์ และ พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม เขียนโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มาจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูล
iOS –https://itunes.apple.com/th/app/dhammadict/id554576108?mt=8
Android – https://play.google.com/store/apps/details?id=Dhamma.Dict&feature=also_installed#?t=W251bGwsMSwxLDEwNCwiRGhhbW1hLkRpY3QiXQ..

Payutto – app รวมหนังสือธรรมะกว่า 170 เล่มของพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
iOS – https://itunes.apple.com/th/app/payutto/id595234457?mt=8
Android – ยังทำไม่เสร็จครับ อีกไม่นานเกินรอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ปีที่แล้ว ผมแจกหนังสือไป 640,000 เล่มครับ!

 
2 Comments

Posted by on June 12, 2013 in ทั่วไป

 

Tags: , , , , , , , , ,

ประวัติพระพุทธศาสนาในไทย

เราเป็นชาวพุทธในไทย … เราทราบกันบ้างมั้ยครับ ว่าศาสนาพุทธในไทยเรามีที่ไปที่มายังไงบ้าง …

ลองมาอ่านกันดูนะครับ

……………………………………………………………………….

พระพุทธศาสนาของไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค

  1. ยุคเถรวาทแบบสมัยอโศก
  2. ยุคมหายาน
  3. ยุคเถรวาทแบบพุกาม
  4. ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์

……………………………………………………………………….

ยุคที่ 1 เถรวาทแบบสมัยอโศก

พ.ศ. 218

  • “พระเจ้าอโศกมหาราช” ส่งพระสงฆ์ไปประกาศศาสนาในดินแดนต่างๆ รวม 9 สาย โดยสายหนึ่งได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานที่สุวรรณภูมิ (นำโดย พระโสณะ และ พระอุตตระ)
  • ซึ่งเชื่อว่า สุวรรณภูมินั้นคือ จังหวัดนครปฐมของไทย
  • แต่ พม่าก็บอกว่า สุวรรณภูมินั้นคือ เมืองสะเทิม ในพม่าภาคใต้

ที่มารูป http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A

……………………………………………………………………….

ยุคที่ 2 มหายาน

พ.ศ. 620

  • “พระเจ้ากนิษกะมหาราช” ได้ส่งสมณทูตออกไปประกาศศาสนาที่เอเชียกลาง
  • “พระเจ้ามิ่งตี่” ทรงนำศาสนาพุทธจากเอเซียกลางไปเผยแพร่ในจีน และ ส่งทูตมายัง “ขุนหลวงเม้า” กษัตริย์ไทยผู้ปกครองอาณาจักรอ้ายลาว … ทำให้หัวเมืองไทยทั้ง 77 หันมานับถือศาสนาพุทธ

พ.ศ. 1300

  • กษัตริย์แห่งอาณาจักร“ศรีวิชัย” ในเกาะสุมาตรา ได้แผ่อาณาเขตเข้ามาถึงจังหวัดสุราษฏร์ธานี ทำให้ พุทธมหายานได้เข้ามาในตอนใต้ของประเทศไทย
  • เจดีย์พระธาตุไชยา และ พระมหาธาตุนครศรีธรรมราช ได้เกิดในยุคนี้

พ.ศ. 1550

  • กษัตริย์“กัมพูชา” ราชวงศ์สุริยวรมัน ได้แผ่อำนาจมาทั่วภาคอีสาน และ ภาคกลางของไทย มีเมืองละโว้(เมืองลพบุรี)เป็นเมืองหลวง … จึงเรียกยุคนี้ว่า สมัยลพบุรี …
  • ได้นับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน ที่แพร่ขึ้นต่อมาจากอาณาจักรศรีวิชัย
  • มหายานยุคนี้ ได้ปนเป ไปกับศาสนาพราหมณ์ อีกทั้งประชาชนท้องถิ่นนั้นยังนับถือพุทธเถรวาทที่ตกทอดมานาน
  • ภาษาสันสกตก็เข้ามาเผยแพร่ และ มีอิทธิพลต่อ ภาษาและวรรณคดีของไทย

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ที่มารูป http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3

……………………………………………………………………….

ยุคที่ 3 เถรวาทแบบพุกาม

พ.ศ. 1600

  • พระเจ้า“อนุรุทธมหาราช” กษัตริย์พุกาม เรืองอำนาจ ทรงแผ่อำนาจมาถึง ล้านช้าง ล้านนา ลพบุรี และ ทวาราวดี … ทรงเลื่อมใสพุทธเถรวาท และ ได้ทำนุบำรุงศาสนาเป็นอย่างดี

……………………………………………………………………….

ยุคที่ 4 เถรวาทแบบลังกาวงศ์

1. สุโขทัย

พ.ศ. 1800

  • พุกามและกำพูชาเสื่อมอำนาจ ไทยเริ่มเป็นอิสระ

พ.ศ. 1820

  • “พ่อขุนรามกำแหง” ขึ้นครองราชย์ ทรงทราบกิตติศัพท์ พระสงฆ์ลังกาวงศ์ จึงอาราธนา “พระมหาเถรสังฆราช” จากนครศรีธรรมราช มาพำนัก ยังวัด “อรัญญิก” จากนั้นพุทธแบบลังกาวงศ์ก็เจริญรุ่งเรื่อง
  • พุทธแบบมหายานเริ่มสูญไป
  • “พระพุทธสิหิงค์” ได้อัญเชิญจากนครศรีธรรมราชมายังสุโขทัย
  • ศิลปะแบบลังกา ได้เริ่มมาแทนที่ศิลปะแบบมหายาน

พ.ศ. 1897

  • ระเจ้าลิไท” ทรงออกผนวชชั่วคราว และ ได้แต่งหนังสือ “ไตรภูมิพระร่วง”
  • ทรงสร้างพระมหาธาตุ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากลังกา
  • ทรงเริ่มจัดระเบียบสงฆ์ เกิดเป็น 2 ฝ่ายคือ คามวาสี กับ อรัญวาสี

2. ลานนาไทย

สมัยลานนาไทย นั้นตรงกับสมัยสุโขทัยและคาบเกี่ยวถึงอยุธยาตอนต้น แต่แยกเขียนมาเพื่อให้เป็นหมวดหมู่

พ.ศ. 1802-1853

  • “พระเจ้าเม็งราย” ครองราชย์ เมืองเชียงใหม่ ทรงบำรุงศาสนา

พ.ศ. 1898-1928

  • “พระเจ้ากือนา” ทรงส่งทูตมายังพระเจ้าลิไท เพื่ออาราธนา “พระสังฆราชสุมนเถร” เป็นการเริ่มต้นศาสนาแบบ ลังกาวงศ์ในล้านนา
  • สร้างพระธาตุเจดีย์วัดบุบผาราม (เสร็จ พ.ศ.1917)
  • สร้างพระธาตุดอยสุเทพ (เสร็จ พ.ศ.1927)

พ.ศ. 1977

  •  ในสมัยรัชกาล“พระเจ้าสามฝั่งแกน” พระสถูปใหญ่เก่าแก่องค์หนึ่งได้ต้องอัสนีบาตพังลง ได้พบ”พระแก้วมรกต”

พ.ศ. 1978-2030

  • “พระเจ้าติโลกราช” ส่งคณะสงฆ์ไปศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา เมื่อกลับมา ได้นำต้นศรีมหาโพธิ์มาด้วย จีงทรงโปรดให้สร้างวัดชื่อ “วัดโพธาราม” (วัดเจ็ดยอด)
  • พ.ศ. 2020 ทรงให้จัดการสังคายนาครั้งที่1 ของไทย (ครั้งที่8 นับต่อจากลังกา)
  • ช่วงระยะเวลาประมาณนี้ (พุทธศตวรรษที่20 ถึง พุทธศตวรรษที่21) เป็นระยะเวลารุ่งเรื่องของวรรณคดีพระพุทธศาสนาของลานนาไทย

พระธาตุดอยสุเทพ

ที่มารูป http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3

3. อยุธยา

ข้อสังเกตว่า จากหลักฐาน ความนับถือของอยุธยา จะเน้นไปที่บุญกุศล สร้างวัด สร้างสถานที่ งานเฉลิมฉลอง พิธีกรรม ไม่ได้เน้นไปยังหลักธรรมชั้นสูง

อยุธยาตอนแรก พ.ศ. 1991-2031

  • สมัยรัชกาล“สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ” ทรงสละสมบัติออกผนวชอยู่ ที่วัด จุฬามณีเป็นเวลา 8 เดือน เมื่อปี 1998
  • ทรงให้ประชุมกวีและประพันธ์ “มหาชาติคำหลวง” 
  • พ.ศ. 2025 ทรงให้กันที่ในพระมหาราชวัง และ สร้างเป็นวัดชืื่อ “วัดพระศรีสรรเพชญ์”
  • พ.ศ. 2027 ทรงให้พระราชโอรส และ พระราชนัดดาออกผนวช … สันนิษฐานว่า เป็นจุดเริ่มต้นประเพณีการบวชเรืยนของเจ้านาย

อยุธยาตอนที่2 พ.ศ.2034-2173

  • พ.ศ.2163-2171 รัชกาล“พระเจ้าทรงธรรม” ทรงศรัทธาถึงขนาด เสด็จออกบอกหนังสือพระภิกษุสามเณรที่พระที่นั่งจอมทองสามหลังเนืองๆ (เป็นหลักฐานว่า ประเพณีบอกหนังสือพระในพระบรมมหาราชวังนั้น มีมานานแล้ว)
  • ทรงสร้างมณฑปสวมพระมงคลบพิตรที่สมเด็จพระไชยราชาราชาธิราชทรางสร้างไว้ เมื่อพ.ศ. 2081
  • โปรดให้ ราชบัณฑิตแต่ง “กาพย์มหาชาติ” เมื่อพ.ศ. 2170
  • โปรดให้สร้างพระไตรปิฏกใไว้จบสมบูรณ์
  • ยุคนี้ ค่านิยมสร้างวัด ได้เกิดแก่ผู้มีฐานะ ไมไ่ด้จำกัดอยู่แต่กับกษัตริย์ จนมีคำกล่าวว่า “เมื่อบ้านเมืองดี เขาสร้างวัดให้ลูกเล่น”

อยุธยาตอนที่3 พ.ศ. 2173-2275

  • พ.ศ. 2199-2231 สมัยพระนารายณ์มหาราช มีหลักฐานว่า การบวชเรียนคงได้รับการนิยมเป็นอย่างมาก
  • ปรากฏว่า เพราะมีการพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์เป็นอย่างดีแก้ผู้ที่บวช จึงมีผู้หนีราชการไปบวชเป็นจำนวนมาก
  • ทรงมีรับสั่งให้มีการสอบวัดความรู้ของพระและสามเณร ถ้าไม่มีความรู้ก็ให้จับสึก
  • ปลายรัชกาล เมื่อจะสวรรคต พระเพทราชา กับ ขุนหลวงสรศักดิ์ ยกกำลังเข้าล้อมวังเพื่อจะยึดอำนาจ พระองค์โปรดให้ช่วยชีวิตข้าราชการทั้งหลายโดยการถวายวังเป็นวิสุงคามสีมา และบวชให้คนทั้งหลายเหล่านั้น นำไปอยู่วัด เป็นการพ้นภัย
  • เหตุการณ์สำคัญอีกอย่างคือ มีชาวยุโรปเข้ามาค้าขาย และ เผยแพร่ศาสนา ทรงดูแลเป็นอย่างดี จนพระเจ้าหลุยส์แห่งฝรั่งเศสและพวกบาทหลวงคิดว่าพระองค์เลื่อมใสศาสนาพุทธ จึงส่งเอกอัครราชทูตมาเจริญสำพันธไมตรี และ ชวนเขารีต ทรงตอบด้วยพระปรีชาว่า “หากพระผู้เป็นเจ้าพอพระทัยให้พระองค์เข้ารีตเมื่อใด ก็จะดลบันดาลศรัทธาให้เกิดขึ้นในพระทัยเมื่อนั้น”

อยุธยาตอนที่4 พ.ศ. 2275-2310

  • พ.ศ. 2275-2301 รัชกาล “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” การบวชเรียนเป็นพระเพณีถึงกับว่า ผู้จะเป็นขุนนางต้องบวชเรียนก่อน เชื่อพระวงศ์เองก็เหมือนกัน
  • ระยะเดียวกันนี้ ลังกา ได้สูญสิ้นศาสนา ไม่มีพระที่มาประกอบพิธีอุปสมบท “พระเจ้ากีรติสิริราชสิงหะ” จึงส่งทูตมาในปี 2293 เพื่อขอพระไทยไปบวชให้กับชาวลังกา
  • คณะสงฆ์ไทย มีพระอุบาลีเป็นหัวหน้า ได้เดินทางไปยังลังกา ทำให้เกิดคณะสงฆ์”อุบาลีวงศ์” หรือ “สยามวงศ์” หรือ “สยามนิกาย” ขึ้น ซึ่งเป็นคณะที่ใหญ่ที่สุดในลังกา
  • ปลายอยุธยา ได้มีหลักฐานชัดเรื่อง ความเชื่อหมกมุ่นในโชคลางและไสยศาสตร์

วัดพระศรีสรรเพชญ์ 

ที่มารูป http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B9%8C

4. สมัยธนบุรี ถึง รัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.4)

พระเจ้าตากสิน

  • พ.ศ. 2310  ขึ้นครองราชย์ทรงบำรุงศาสนาเท่าที่มีโอกาส ทรงสร้าวัดใหม่วัดเดียวคือ วัดบางยี่เรือเหนือ (วัดราชคฤห์)
  • ทรงรวบรวมพระไตรปิฏกจากหัวเมืองมาคัดลองเป็นฉบับหลวง แต่ไม่ทันเรียบร้อยก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน
  • พ.ศ. 2322 ทรงให้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” มาจากเมืองเวียงจันทน์
  • พ.ศ. 2325 ทรงให้สร้าง”สมุดภาพไตรภูมิ” อันวิจิตรอลังการ คลี่ออกได้ยาว 34 เมตร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

  • พ.ศ. 2325  ขึ้นครองราชย์ ต่อมาทรงย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งตะวันออก
  • ทรงสร้างหลายวัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใน พระบรมมหาราชวัง
  • โปรดให้ทำ สังคายนาครั้งที่ 9 ที่วัดมหาธาติ เสร็จแล้วคัดลอกเป็นพระไตรปิฏกฉบับหลวง เรียกว่า ฉบับทองใหญ่ ต่อมาทรางเพิ่มอีก 2 ฉบับ เรียกว่า ฉบับรองทอง และ ฉบับทองชุบ
  • ทรงตรา”กฏหมายพระสงฆ์” เพื่อกวดขันความประพฤติของสงฆ์

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

  • พ.ศ. 2352  ขึ้นครองราชย์
  • ทรงส่งสมณทูต 8 รูปไปสืบสวนศาสนายังลังกา ขากลับคณะได้นำหน่อต้นศรีมหาโพธิ์กลับมาด้วย 6 หน่อ
  • มีการทำพิธี “วิสาขบูชา” ขึ้นเป็นครั้งแรก
  • สมเด็จพระสังฆราช (มี) ได้ขยายหลักสูตรการเรียนภาษาบาลี จาก 3 ชั้น เป็น 9 ประโยค

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

  • พ.ศ. 2367  ขึ้นครองราชย์ 
  • ทรงสร้างพระไตรปิฏกฉบับหลวงเพิ่มขึ้นไว้อีกหลายฉบับ ครบถ้วนสมบูรณ์กว่ารัชกาลก่อนๆ
  • โปรดให้แปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาไทย
  • ทรงให้รวบรวมตำรับตำราต่างๆ เช่น การแพทย์ เป็นต้น และให้จารึกไว้ในพระอารามหลวง
  • ทรงส่งเสริมและขยายการบอกพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระราชทานอุปถัมภ์แก่พระภิกษุสามเณรที่สอบได้ ตลอดไปจนถึงโยมบิดามารดา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

  • พ.ศ. 2394  ขึ้นครองราชย์
  • โปรดให้มี “พิธีมาฆบูชา” ขึ้นเป็นครั้งแรก
  • ทรงอุปถัมภ์สงฆ์ญวณ บับเป็ฯการให้ความรับรองเป็นทางการแก่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานใหม่ขึ้นเป็นครั้งแรก
  • สมัยยังไม่ได้ครองราชย์ ทรงออกผนวช และ สอบได้ เปรียญ 5 ประโยค ทรงยังเลื่อมใสในความเคร่งครัดของพระมอญชื่อ ซาย ฉายา พุทธวังโส ทรงมีความประสงค์จะประพฤติเคร่งครัดเช่นนี้ จึงเสด็จย้ายไปประทับยังวัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เมื่อพ.ศ.2372 ทรงอุปสมบทใหม่ แยกไปตั้งคณะ ธรรมยุติกา หรือ ธรรมติกนิกาย ขึ้น กำหนดด้วยการฝังลูกนิมิตผูพันธสิีมาใหม่ของวัดสมอรายว่าเป็นการตั้งคณะธรรมยุตใน พ.ศ.2376 จากนั้นไปประทับที่วัดบวรฯ ตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติกาต่อมา

พระแก้วมรกต

ที่มารูป http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3

5. สมัยปัจจุบัน (ร.5 ถึงปัจจุบัน)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

  • พ.ศ. 2411  ขึ้นครองราชย์
  • ทรงส่งเสริมและริเริ่มการเกี่ยวกับหนังสือทางพระศาสนา ทำให้เกิดหนังสือเป็นจำนวนมาก เช่น “นวโกวาท”
  • ทรงโปรดเกล้าให้มีอาจารย์สอนหนังสือไทย และ เลข ในทุกๆพระอาราม
  • พ.ศ. 2431 ทรงให้พิมพ์หนังสือพระไตรปิฏกด้วยอักษรไทย จบละ 39 เล่ม จำนวน 1,000 จบ เป็นครั้งแรกที่มีการตีพิมพ์ “พระไตรปิฏกอักษรไทย” และทรงพระราชทานให้กับพระอารามหลวงและวัดราษฏร์ทั่วประเทศ
  • พ.ศ. 2432 ทรงย้ายที่ราชบัณฑิต จากให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามให้ไปอยู่ที่วัดมหาธาตุ และขนานนามว่า “มหาธาตุวิทยาลัย” ต่อมาในปี 2439 ทรงเป็นชื่อเป็น “จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ให้เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรม และ วิชาชั้นสูง
  • พ.ศ. 2436 ทรงเปิด “มหามงกุฏราชวิทยาลัย”
  • พ.ศ. 2441 อังกฤษ ผู้ปกครอง อินเดีย ได้ส่งพระบรมสารีริกธาตุ ที่ขุดพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ มาถวายเมืองไทย … ทรงโปรดให้บรรจุในพระสถูปยอดบรมบรรพต ภูเขาทอง วัดสะเกศ เมื่อปี 2442
  • พ.ศ. 2445 ทรงประกาศ “พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121”

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู๋หัว

  • พ.ศ. 2453  ขึ้นครองราชย์ 
  • ทรงปราดเปรื่องให้พระพุทธศาสนามาก ถึงกับทรงเทศนาสั่งสอนอบรมข้าราชการด้วยพระองค์เอง
  • ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือหลายเรื่อง เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
  • พ.ศ. 2456 โปรดให้ใช้ “พุทธศักราช” เป็นครั้งแรก แทนรัตนโกสินทร์ศก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน
  • พ.ศ. 2454 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงนำวิธีแปลโดยเขียนมาใช้ในการสอบบาลีสนามหลวงเป็นครั้งแรก เริ่มด้วยประโยค 1-2 และใช้เป็นทางการทุกปี จนครบถึง 9 ประโยคในปี 2469 ทรงเริ่มการศึกษาใหม่อีกหลักสูตร ชื่อว่า “นักธรรม”
  • พ.ศ. 2462-2463 โปรดให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฏก เพื่อนอุทิศถายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระพันปีหลวง

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

  • พ.ศ. 2468  ขึ้นครองราชย์  
  • โปรดให้จัดพิมพ์ “พระไตรปิฏก ฉบับ สยามรัฐ” จบละ 45 เล่ม จำนวน 4,500 จบ ทรงพระราชทานไปยังประเทศต่างๆ ประมาณ 400-450 จบ
  • โปรดให้ราชบัณฑิตยสภา เปิดการประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กในงานพระราชพิธีวิสาขบูชา โดยหนังสือที่ได้รับรางวัลเล่มแรกคือ “ศาสนาคุณ” ของหม่อมเจ้าหญิงพุนพิศมัยดิศกุล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

  • พ.ศ. 2477  ขึ้นครองราชย์ 
  • เริ่มงานแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ แปลโดยอรรถ และ แปลโดยสำนวนเทศนา … อย่างหลักได้สำเร็จในปี 2492 แต่อย่างแรกยังค้างอยู่ และ ได้นำมาดำเดินงานต่อ โดยจัดเป็นผลงานเนื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
  • พ.ศ. 2484 รัฐบาลสร้าง “วัดพระศรีมหาธาตุ” ขึ้นที่บางเขน อาราธนาพระสงฆ์ 2 นิกายไปอยู่ร่วมกัน เพื่อรวมนิกาย แต่ว่าไม่สำเร็จ
  • พ.ศ. 2488 มหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ประกาศตั้งตนเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ชือ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10  ธันวา 2488

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

  • พ.ศ. 2489  ขึ้นครองราชย์
  • ความสนใจพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากในฝ่ายคฤหัสถ์ เกิดสมาคมทางพุทธศาสนาขึ้นมาก เช่น พุทธสมาคม, ยุวพุทธสมาคม เป็นต้น แม้แต่ในมหาลัยต่างๆก็เกิดมีชุมนุมทางพุทธศาสนาขึ้น
  • พ.ศ. 2490 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิยาลัยฝ่ายพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2490
  • พ.ศ. 2499 ในหลวงทรงออกผนวช ณ. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 22 ตุลา ทรงประทับอยู่ ณ. วัดบวรฯเป็นเวลา 15 วัน จึงทรงลาผนวช
  • พ.ศ. 2500 มีงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในวันที่ 12-18 พฤษภาคม ที่สนามหลวง
  • พ.ศ. 2501 เริ่มเกิดมี โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ขึ้นแห่งแรกที่ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จากนั้น ก็มีผู้นิยมจัดตามเป็นอันมาก
  • พ.ศ. 2505 รัฐบาล ออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 โดยมีเหตุผลจะปรับปรุงการดำเนินกิจการคณะสงฆ์ ให้สมเด็จพระสังฆราชทรงบัญชาการคณะสงฆ์ทางมหาเถรสมาคมโดยตรง มิให้เป็นการแบ่งแยกอำนาจ เพื่อถ่วงดุลย์อำนาจ อย่างในพ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484
  • พ.ศ. 2508  องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ได้มาตั้งสำนักงานในไทย โดยมีกำหนดเวลา 4 ปี แต่ภายหลังที่ประชุมได้มีมติให้อยู่ในไทยเป็นการถาวร
  • พ.ศ. 2509 ในหลวงทรงไปเปิดวัดพุทธปทีป ในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นวัดไทยแห่งแรกในตะวันตก
  • พ.ศ. 2514 เกิดวัดไทยแห่งแรกให้อเมริกา ชื่อ ศูนย์พุทธศาสนาเถรวาท​ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดไทยลอสแองเจลีส)
  • ได้เกิดมีชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาศาสนาพุทธในไทยเป็นจำนวนมาก ถึงกับเกิดมีวัดหนึ่งเป็นที่สำหรับภิกษุต่างชาติ คือ วัดป่านานาชาติ ในจังหวัด อุบล (สาขาของวัดหนองป่าพง ที่พระอาจารย์ชา เป็นเจ้าอาวาส)
  • พ.ศ. 2525 สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ได้มีพิธีสมโภชพระพุทธรูปประธานพุทธมณฑล เพื่อเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมและนมัสการที่ พุทธมณฑล จ. นครปฐม

พุทธมณฑล

ที่มารูป http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5

……………………………………………………………………….

ที่่มาครับ เรียบเรียงจากหนังสือ พระพุทธศาสนาในอาเซีย โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)

……………………………………………………………………….

 

 

Tags: , , ,