RSS

ธรรมะวันวาเลนไทน์ : การปฏิบัติต่อภรรยา และ สามี

keep-calm-and-love-your-wife-21

วันวาเลนไทน์ ทั้งที ก็หาธรรมะมาเขียนให้เข้ากับเหตุการณ์หน่อยครับ

ธรรมะที่เกี่ยวกับความรักที่ผมเอามาเขียนวันนี้ก็เป็นเรื่องใน ทิศ6 ครับ ครั้งนี้เป็นทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตร ภรรยา สามี … ลองมาดูกันครับ ว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนไว้อย่างไรบ้าง

………………………………………………………………………………………………………………………..

ปัจฉิมทิศ (ทิศเบื้องหลัง ทิศตะวันตก ได้แก่ บุตรภรรยา เพราะติดตามเป็นกำลังสนับสนุนอยู่ข้างหลัง

  1. สามีบำรุงภรรยา ผู้เป็นทิศเบื้องหลัง ดังนี้
    1. ยกย่องให้เกียรติสมกับฐานะที่เป็นภรรยา
    2. ไม่ดูหมิ่น
    3. ไม่นอกใจ
    4. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้
    5. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส
  2. ภรรยาย่อมอนุเคราะห์สามี ดังนี้
    1. จัดงานบ้านให้เรียบร้อ
    2. สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
    3. ไม่นอกใจ
    4. รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
    5. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง

………………………………………………………………………………………………………………………..

ผมว่าน่าสนใจนะครับ ตรงที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า สามีต้องหมั่นซื้อเครื่องประดับของขวัญมาให้ภรรยา ^ ^

ดังนั้นพวกเราผู้ชาย อย่าได้ประมาท หรือ ลืมเป็นอันขาดนะครับ

………………………………………………………………………………………………………………………..

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=265

ที่่มารูป http://www.keepcalm-o-matic.co.uk/p/keep-calm-and-love-your-wife-21/

 
Leave a comment

Posted by on February 14, 2013 in ธรรมะ

 

Tags: , , ,

นิทานธรรมะ : ชายขี่ม้า

horseback-riding-dog-attracts-attention-1OF

ชายคนหนึ่งขึ้นขี่ม้า เขาบังคับม้าไม่ได้ ม้ามันก็วิ่งไป ควบวิ่งไปเรื่อยๆ เพื่อนร้องถาม แกจะไปไหน? เขาตอบ กูไม่รู้ แล้วแต่ม้าโว้ย!

จบครับ

***************************************************************************

เป็นนิทานธรรมะที่สั้น แต่ลึกซึ้งและโดนใจผมมากครับ ผมได้มาจาก Fwd mail ของเพื่อน เห็นว่าเป็นเรื่องเล่าของท่านพุทธทาสครับ

เห็นนิทานนี้แล้วนึกถึง โกอาน ของพวกเซ็น … แต่ก่อนเคยมีหนังสือรวมโกอาน เสียดายที่หายไปแล้ว … มีเรื่องเล่านึงที่ยังฝังอยู่ในใจผมคือ มีพระเซ็นท่านนึง ท่านซาโตริ (บรรลุธรรม) เสร็จแล้วท่านก็อุทานขึ้นว่า

ก่อนฝึกเซ็น แม่น้ำก็เป็นแม่น้ำ ขุนเขาก็เป็นขุนเขา

แต่เมื่อปฏิบัติเซ็นแล้ว ฉันเห็นว่าแม่น้ำก็ไม่ใช่แม่น้ำ

ขุนเขาก็มิใช่ขุนเขาอีกต่อไปมาบัดนี้ ฉันกลับเห็นแม่น้ำก็ยังคงเป็นแม่น้ำและขุนเขาก็ยังเป็นขุนเขาอยู่ดังเดิม

อยากถามผมนะ ว่าแปลว่าอะไร … แล้วก็อย่าไปหาอ่านคำอธิบายด้วยนะครับ … นิทานพวกนี้ เค้าว่า ต้องปฏิบัติธรรมค้นคำตอบด้วยตัวเอง ไปอ่านคำเฉลย มันจะได้แต่ความจำ ไม่ได้ธรรมะอะไร

***************************************************************************

ที่มาของรูปครับ http://www.wayodd.com/horseback-riding-dog-attracts-attention/v/3986/

 
Leave a comment

Posted by on February 14, 2013 in ธรรมะ

 

Tags: , ,

[มาฆบูชา] พระอรหันต์ 1250 รูปมีใครบ้าง?

post-15-1091563837

วันมาฆบูชาที่กำลังจะถึงนี้ พวกเราก็ทราบดีว่ามีความสำคัญคือ

  1. พระสงฆ์ 1,250 รูป ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
  2. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
  3. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ คือผู้ได้อภิญญา 6 ข้อ
  4. วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)

คำถามคือ พระอรหันต์ 1250 นี้มีใครบ้าง? ก่อนอื่น เราลองมาไล่กันดูก่อนว่า มีพระอรหันต์กี่องค์แล้วในตอนนั้น เริ่มจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้วันเพ็ญเดือน6

ปัญจวัคคีย์ รวม 5 รูป

พวกเราก็รู้จักท่านปัญจวัคคีย์กันดีครับ ซึ่งท่านทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ลำดับการบรรลุธรรมของพวกท่านเป็นดังนี้ครับ

  • ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8  :               ท่านโกณฑัญญะ ได้ธรรมจักษุ
  • แรม 1 ค่ำ เดือน 8  :               ท่านวัปปะได้ธรรมจักษุ
  • แรม 2 ค่ำ เดือน 8  :               ท่านภัททิยะ ได้ธรรมจักษุ
  • แรม 3 ค่ำ เดือน 8  :               ท่านมหานามะ ได้ธรรมจักษุ
  • แรม 4 ค่ำ เดือน 8  :               ท่านอัสสชิ ได้ธรรมจักษุ
  • แรม 5 ค่ำ เดือน 8  :               พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตร และ ท่านปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็ได้บรรลุธรรมเป็นอรหันต์

รวมตอนนี้มีพระอรหันต์ 5 รูป (ไม่รวมพระพุทธเจ้า)

post-15-1091432119

พระยสกุลบุตร และ สหาย รวม 55 รูป

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้ไปโปรดพระยสกุลบุตร และ หลังจากได้ฟังธรรม ท่านยสก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่ยังไม่ได้บวชเลยทีเดียว และ พระยสเนี่ยท่านไม่ธรรมดานะครับ ท่านเป็นลูกชายของ นางสุชาดา คนที่ถวายข้าวมัธุปายาส หน่ะครับ

หลังจากพระยสได้ออกบวช เพื่อนๆของท่านก็ได้ออกบวชตาม อีก 54 คน และ ทั้งหมดก็ได้เป็นพระอรหันต์

รวมตอนนี้มีพระอรหันต์ 60 รูป (ไม่รวมพระพุทธเจ้า)

post-15-1091500257

พระพุทธเจ้า ส่งพระอรหันต์ทั้ง 60 ออกไปประกาศศาสนา

ทรงตรัสเรียก และให้สาวกทั้งหมดออกประกาศศาสนา (60รูป – ปัญจวัคคีย์ + พวกพระยสะ)

โดยตรัสให้พระสาวก 60 รูปแยกย้ายกันประกาศศาสนา 60 แห่งไม่ซ้ำทางกัน ส่วนพระองค์เองจะเสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม

ภัททวัคคีย์ รวม 30 คน

ระหว่างทาง พระพุทธเจ้าได้พบกับ กลุ่มภัททวัคคีย์ ซึ่งมี 30 คนด้วยกัน ทรงสอนธรรมะ และ ทั้งหมดก็ได้บรรลุธรรมขั้นต้น แต่ยังไม่มีใครได้เป็นพระอรหันต์

ซึ่ง พระพุทธเจ้าก็ทรงบอกให้ พระภัททวัคคีย์ทั้ง 30 คน ออกเดินทางไปพร้อมๆกัน ที่ทรงไม่ให้แยกเดินทางเดี่ยวเพราะ ตอนนั้นท่านทั้ง 30 ยังไม่ได้บรรลุอรหันต์

เอาเป็นว่าตอนนั้น พระในโลกมี 60 รูป ที่เป็นอรหันต์ และ 30 รูปที่ยังไม่ได้เป็นอรหันต์

โปรดชฏิลสามพี่น้องและบริวาร รวม 1003 คน

ท่านก็ได้ไปโปรด ชฏิล 3 พี่น้อง ก็ใช้เวลาอยู่นานหน่อยกว่าจะทำให้ชฏิลยอมรับได้

แต่พอเหล่าชฏิลยอมรับแล้ว หันมาฟังธรรม ท่านทั้งหมดก็บรรลุเป็นอรหันต์

  • อุรุเวลากัสสปะ และ บริวาร 500
  • นทีกัสสปะ และ บริวาร 300
  • คยากัสสปะ และ บริวาร 200
  • รวม 1003 คน

การเป็นว่าตอนนั้น พระในโลกมี 1063 รูป ที่เป็นอรหันต์ และ 30 รูปที่ยังไม่ได้เป็นอรหันต์

post-15-1091500839

พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ และคณะ รวม 252 คน

ถัดมาก็เป็นคณะของพระสารีบุตร และ โมคคัลลานะ ที่ตามเข้าบวช โดยที่ท่านทั้งหมดพาบริวารมาด้วยอีก 250 คน บริวารทั้งหมดบรรลุอรหันต์จากการฟังธรรมครั้งแรก แต่พระสารีบุตร กับ พระโมคคัลลานะใช้เวลานานกว่านิดนึงคือ

  • พระโมคคัลลานะ ใช้เวลา 7 วัน
  • พระสารีบุตรใช้เวลา 14 วัน

และ วันที่พระสารีบุตรบรรลุอรหันต์นั้น ก็คือวัน มาฆบูชานั่นเองครับ

post-15-1091563636

สรุป มีพระอรหันต์กี่องค์ เมื่อถึงวันมาฆบูชา?

จากพุทธประวัติ เราพอจะสรุปได้ว่า ในตอนนั้น (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) มีพระแล้วทั้งหมด 1345 รูป โดยแบ่งเป็น

  • มีพระอรหันต์รวม 1315 รูป
    • ปัญจวัคคีย์ รวม 5 รูป
    • พระยสกุลบุตร และ สหาย รวม 55 รูป
    • ชฏิลสามพี่น้องและบริวาร รวม 1003 คน
    • พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ และคณะ รวม 252 คน
  • ที่ยังไม่ได้เป็นอรหันต์ 30 รูป
    • ภัททวัคคีย์ รวม 30 คน
    • แต่ว่า ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับว่า เมื่อถึงวัน มาฆบูชาแล้ว ในบรรดาท่านทั้ง 30 อาจจะมีบางท่านบรรลุอรหันต์แล้วก็เป็นได้

แล้วพระอรหันต์ 1250 รูปมีใครบ้าง?

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ 😛 พระไตรปิฏกไม่ได้เขียนไว้นี่ครับ ว่ามีท่านใดบ้าง แล้วผมจะไปกล้าฟันธงได้ยังไง เอาเป็นว่า ต้องอยู่ใน 1345 รูปนี้แน่ๆครับ

แต่ก็มีบางท่านได้ให้สมมุติฐานไว้เหมือนกันนะครับ ว่า 1250 รูปนั้น คือ

  • ชฏิลสามพี่น้องและบริวาร รวม 1003 คน
  • พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ และคณะ รวม 252 คน
  • รวม 1255 รูป แต่ว่า เค้าไม่นับ ชฏิลสามพี่น้อง พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ทำให้เหลือ 1250 พอดี

ส่วนภัททวัคคีย์ 30 คน นั้นไม่นับ เค้าบอกว่า ยังไม่บรรลุ  และ พระอีก 60รูป  คือ ปัญจวัคคีย์ + พวกพระยสะ ก็ไม่นับ เพราะ ได้แยกย้ายไปประกาศศาสนา

ฟังดูก็น่าสนใจดีครับ แต่ก็เอาเป็นว่า ฟังหูไว้หูแล้วกันครับ เพราะ พวกเราเกิดไม่ทัน ^ ^”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

[ภาพที่ ๓๕] ถึงป่าอิสิปตนะ เบญจวัคคีย์เห็นแต่ไกล นัดกันว่าจะไม่ต้อนรับ แต่แล้วก็กลับใจ

[ภาพที่ ๓๖] สำแดงปฐมเทศนา ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร โปรดเบญจวัคคีย์ ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม

[ภาพที่ ๓๗] ยสกุลบุตร หน่ายสมบัติ เดินไปสู่ป่าอิสิปตนะ พบพระพุทธองค์ ทรงแสดงธรรมโปรด

[ภาพที่ ๓๘] เสด็จไปหาชฎิล อุรุเวลกัสสป ขอพักในโรงไฟ ชฎิลบอกว่ามีนาคร้าย ก็ไม่ทรงฟัง

[ภาพที่ ๓๙] บันดาลให้นาคราชขดกายลงในบาตร ให้ชฎิลดู ชฎิลก็ยังไม่เลื่อมใส

[ภาพที่ ๔๐] วันหนึ่งฝนตกหนัก น้ำท่วม แต่ไม่ท่วมที่ประทับ ชฎิลเห็นอัศจรรย์ จึงทูลขอบรรพชา

[ภาพที่ ๔๑] พระอุรุเวลกัสสปประกาศตนเป็นพุทธสาวก ต่อหน้าพระเจ้าพิมพิสาร ณ สวนตาลหนุ่ม

[ภาพที่ ๔๔] พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร อัครสาวกซ้าย-ขวา มาทูลขอบรรพชาเป็นเอหิภิกขุ

[ภาพที่ ๔๕] พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ แก่พระอรหันต์สงฆ์ในวันเพ็ญมาฆบูชา

 
6 Comments

Posted by on February 7, 2013 in ธรรมะ

 

Tags: ,

ปีที่แล้ว ผมแจกหนังสือไป 640,000 เล่มครับ!

ปีที่แล้ว ผม ภรรยา และ เพื่อนๆ ที่สนิทกัน (แก๊งค์เข้าวัดหน่ะครับ) มีโปรเจคที่ทำรวมกันอยู่อันนึงคือ ทำแอปหนังสือธรรมะครับ

ที่ไปที่มา

ที่คิดจะทำแอปหนังสือธรรมะก็ง่ายๆครับ คือ ผมอยู่ต่างประเทศ หาหนังสือพระอ่านยากครับ (จริงๆแล้วคือหาไม่ได้เลยต่างหาก) อยากจะอ่านอะไรทีก็ลำบากครับ ต้องไปอ่านตามเนต หา PDF มาอ่าน หรือ ไม่ก็ต้องกลับไปหิ้วมาจากเมืองไทย

คือมันไม่สะดวกหน่ะครับ มัน ไม่คล่องตัว บางทีติดปัญหา ก็นึกขึ้นได้ว่าเล่มนั้นเคยสอนไว้ แต่ก็ดันไม่มีติดตัว ถ้าเป็นตอนอยู่ไทย ก็คงหยิบมาอ่านได้ง่ายๆไปแล้ว

คิดไปคิดมา ก็คิดว่า น่าจะมีคนทำแอปรวมหนังสือธรรมะนะ แต่ค้นๆดูก็ยังไม่มีของพระอาจารย์บางท่าน หรือ นักเขียนบางคนที่เราชอบ … ทำเองไปเลยดีมั้ยเนี่ย … ก็คิดขึ้นมาเล่นๆ

นั่งนึกๆฝันๆอยู่พักใหญ่ๆครับ สุดท้ายก็ตัดสินใจทำ

เริ่มแรก แอปแรกที่ทำคือ แอปรวมหนัังสือคุณดังตฤณครับ ก็ได้ติดต่อไปทางคุณดังตฤณ ทำเรื่องขออนุญาตเอาหนังสือมาทำเป็นแอปแจกฟรี ก็ได้รับอนุญาตมาครับ คุณดังตฤณและทีมงานใจดีมากๆๆๆๆๆ จากนั้นพวกผมก็เริ่มกันเลย … ก็เขียนแอปกันไม่เป็นหรอกครับ ก็ต้องไปจ้างเพื่อนเขียนอีกทีนึง โชคดีที่มีเพื่อนทำอาชีพรับเขียนแอปอยู่แล้ว ฝีมือดีด้วย

ใครสนใจก็ติดต่อเพื่อนผมได้เลยครับ ชื่อรุตม์ นี่คือเวปของเค้าครับ http://www.masakasoft.com/

url

App Dungtrin on iOS

ตอนแรกก็ค่อยๆเป็นค่อยๆไป เริ่มจากทำแอป ดังตฤณบน iPad ก่อน ปล่อยตัววันแรกวันที่ 2 กพ 55  ครับ (ใช้เวลาร่วมปีแหน่ะครับ ตั้งแต่ คิด วางแผน ติดต่อขออนุญาต ไปจนทำแอพ …​ไม่นับว่าเจอน้ำท่วมอีก ทำให้ทุกอย่างต้องชะลอไปหมด)

แอปดังตฤณบน iPad ได้รับการตอบรับดีเกินความคาดหมายครับ มีคอมเมนท์ติดชมมาเพียบ ก็เอามาปรับปรุง และ ก็ทำแอปดังตฤณบน iPhone และได้ปล่อยออกมาวันที่ 5 มิย 55

App Dungtrin on Android

ระหว่างที่ทำแอปดังตฤณบนiPhone ผมก็เริ่มหาคนที่รับจ้างเขียน แอปบน Android แต่หาเท่าไหร่ก็ไม่ได้ครับ เพราะ ตั้งใจอยากให้ออกมาดี ก็อยากได้คนที่เราชื่อมือว่าจะทำออกมาสวยๆ เจ๋งๆ

เพื่อนๆก็ช่วยกันหาคนที่รับเขียนครับ เพื่อนผมก็ได้มาชื่อนึง แต่ติดที่อะไรก็จำไมไ่ด้ละ สุดท้ายต้องไปขอบคุณคุณภรรยาครับ ที่นึกขึ้นได้ และ ไปติดต่อ อ.ภาคคอมวิศวะจุฬา ถามเรื่องคนทำแอป อ.ท่านก็ได้แนะนำเด็กๆนิสิตฝีมือดี ที่รับเขียนแอป … คือ น้องสรวิศ กับ น้องเดชา … และ แอพดังตฤณบน Android ก็ได้ปล่อยออกมาในวันที่ 13 มิย 55 ครับ

ผมอยากจะบอกว่า ถ้าไม่มีภรรยาผม แอปบนAndroid ไม่รู้จะได้เกิดเหมือนไหร่เลยครับ

App DhammaDict

App DhammDict  (iOS & Android)

ทีนี้ชักจะคึกครับ เพราะ เสียงตอบรับทำให้มีกำลังใจมากๆ รู้สึกว่า ตัวเองกำลังมาถูกทาง ได้ทำบุญใหญ่ ได้เติมเต็มธรรมะลงในช่องว่าง …. ไอเดียบรรเจิดเลยครับ

แอปถัดมาที่ทำคือ แอพ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ … คือ ไปติดต่อวัดญาณเวศกวัน ของท่าน พระพรหมคุณาภรณ์ ขอเอาไฟล์หนังสือ พจนานุกรรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ และ ประมวลธรรม มาเป็นฐานข้อมูล สร้างเป็น Dict ขึ้นมา ให้คนค้นหาคำได้ง่ายๆ ตั้งชื่อว่า DhammaDict ครับ

ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ท่านเมตตามากๆครับ ท่านได้ตอบหนังสืออนุญาตมาให้ผมด้วย (ทุกวันนี้ยังเก็บไว้อยู่เลย กะจะเอาไปเข้ากรอบ :D) และพอแอปเสร็จแล้ว ท่านยังได้ลองเล่นดูและมีคำติชมมาด้วย …​ ปลื้มๆมากครับ

DhammaDict นี่ผมรักแอปนี้มาก เพราะ เชื่อว่ามันต้องมีประโยชน์มากแน่ๆสำหรับคนที่กำลังศึกษาศาสนาพุทธ … และ แอป DhammaDict ก็ได้ปล่อยออกมา ในวันที่ 1กย55(Android) และ  20กย55(iOS)

App Pamojjo

App Pamojjo (iOS & Android)

หลังจากนั้น พี่ที่ทำงานที่สนใจธรรมะเหมือนกัน ก็ชวนว่า ทำแอปหลวงพ่อปราโมทย์มั้ย … จะไปเหลือหรอครับ ก็ทำสิครับ … พวกผมก็ได้ทำเรื่องส่งจมหมายขอทำแอปไปยังสวนสันติธรรมของหลวงพ่อปราโมทย์ ซึ่งทางหลวงพ่อปราโมทย์ท่านก็เมตตาอนุญาตให้พวกเราทำครับ

และ แอปรวมหนังสือหลวงพ่อปราโมทย์ก็ได้ปล่อยออกมาในวันที่ 22 มค 56 (iOS & Android)

สรุป ผ่านไป 1 ปี ปล่อยไป 3 แอป 😀

เป็นอันว่า ตั้งแต่ 2กพ55 จนถึงวันนี้ ได้มีแอปออกไปแล้ว 3 แอปครับ บน iOS & Android

ยอดดาวน์โหลดเป็นไงบ้าง

ถล่มทลายเกินความคาดหมายครับ เยอะชนิดที่ว่า นอนหลับฝันดีเลยครับ 😀 แต่แรกคิดว่า แค่ได้แอปหละ 1000 โหลด ก็พอใจแล้ว

แต่ความเป็นจริงคือ ได้ไปรวมทั้งหมด 43,864 โหลดครับ! …. เหมือนกับว่าผมและเพื่อนๆ ได้แจกหนังสือไปให้ 43,864 คนในปีเดียว …​ หรือ ตกวันละ 120 คน!

แต่ถ้าจะคิดว่า แต่ละแอปมีหนังสืออยู่ข้างในกี่เล่ม เอาจำนวนหนังสือมาคูณเข้าไป … ก็ได้ว่า ในปีแรกปีเดียวนี้ พวกผมได้แจกหนังสือไปแล้ว 640,223 เล่ม! …​ หรือ ตกวันละ 1,750 เล่มครับ! (ถ้าเทียบกับค่าใช้จ่ายแล้ว ก็ตกเล่มละไม่ถึงบาท ^____^)

จริงๆแล้วไอ้การคิดว่าแจกไปแล้วเป็นจำนวนกี่เล่มเนี่ย ก็ไม่รู้ว่าจะคิดแบบนี้ได้มั้ย แต่คิดแบบนี้มันก็ชื่นใจดีหน่ะครับ

ตายตาหลับแล้วครับ

Apps Donwload 2

แอปถัดๆไปหล่ะ

ไม่บอกครับ ขอปิดเป็นความลับ แต่ว่าอีกไม่กี่วันก็น่าจะได้ปล่อยละครับ … แอปนี้ใครโหลดแล้วกรี๊ดแน่นอนครับ

ขอกราบขอบพระคุณ

มีหลายท่านที่มีส่วนร่วมในแอปนี้นะครับ ขอบคุณ ครูบาอาจารย์ที่เมตตาอนุญาตให้ผมนำหนังสือของท่านมาทำแอป ได้แก่ ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ หลวงพ่อปราโมทย์ คุณดังตฤณ อีกทั้งทีมงานของแต่ละวัด คือ หลวงพี่ปณต หลวงพี่อาร์ต พี่ธนา พี่ฤทธิชัย พี่ป้อม คุณบอย ฯลฯ (ตกหล่นท่านใดไปขออภัยด้วยนะครับ)

ลิ้งดาวน์โหลดแต่ละแอป

Pamojjo – app รวมหนังสือทุกเล่มของพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
iOS –https://itunes.apple.com/th/app/pamojjo/id585559561?mt=8
Android – https://play.google.com/store/apps/details?id=com.dharmabooks.pamojjobooks&feature=search_result#?t=W251bGwsMSwyLDEsImNvbS5kaGFybWFib29rcy5wYW1vampvYm9va3MiXQ

Dungtrin – appรวมหนังสือทุกเล่มของคุณดังตฤณ
iOS –https://itunes.apple.com/th/app/dungtrin/id497234678?mt=8
Android – https://play.google.com/store/apps/details?id=com.dungtrin.dungtrinbooks.fullcollection&feature=more_from_developer#?t=W251bGwsMSwxLDEwMiwiY29tLmR1bmd0cmluLmR1bmd0cmluYm9va3MuZnVsbGNvbGxlY3Rpb24iXQ..

DhammaDict – app พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ได้นำคำศัพท์ใน พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์ และ พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม เขียนโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มาจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูล
iOS –https://itunes.apple.com/th/app/dhammadict/id554576108?mt=8
Android – https://play.google.com/store/apps/details?id=Dhamma.Dict&feature=also_installed#?t=W251bGwsMSwxLDEwNCwiRGhhbW1hLkRpY3QiXQ..

 
5 Comments

Posted by on February 3, 2013 in Uncategorized

 

Tags: , , , , , , , , ,

มหาลดาปสาธน์ : เครื่องประดับอันทรงค่าของนางวิสาขา

วันนี้จะมาเล่าให้ฟังเรื่อง “มหาลดาปสาธน์” ครับ

มหาลดาปสาธน์ เป็นเครื่องประดับประจำตัวของนางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นเครื่องประดับที่เศรษฐีบิดาของท่านได้สร้างให้เพื่อเป็นชุดแต่งงานครับ

เนื่องจากเป็นแต่งงานระหว่างลูกเศรษฐีใหญ่ (ถ้าอ่านในพระไตรปิฏกจะพบว่า เศรษฐีใหญ่มากกกครับ) ชุดเจ้าสาวจะให้ธรรมดาได้ไงละครับ ออกมาทั้่งสวยทั้งราคาแพง

มหาลดาปสาธน์เป็นเสื้อคลุมครับ สวมศรีษะแล้วจะยาวครอบถึงเท้า ตรงศรีษะก็ทำเป็นรูปนกยูงไว้ตัวนึง ซึ่งส่วนประกอบก็เต็มไปด้วยของมีค่ามากมายครับ

เครื่องประกอบในมหาลดาปสาธน์

  • เพชร ๔ ทะนาน, แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน, แก้วประพาฬ ๒๐ ทะนาน, แก้วมณี ๓๓ ทะนาน
  • ใช้เงินทำแทนด้าย
  • เครื่องประดับนั้นสวมที่ศีรษะแล้ว ย่อมจดหลังเท้า
  • ลูกดุมทำด้วยทอง
  • ห่วงทำด้วยเงิน
  • แหวน วงหนึ่งที่ท่ามกลางกระหม่อม, หลังหูทั้งสอง ๒ วง, ที่หลุมคอ ๑ วง, ที่เข่าทั้งสอง ๒ วง, ที่ข้อศอกทั้งสอง ๒ วง, ที่ข้างสะเอวทั้งสอง ๒ วง ดังนี้. ก็ในเครื่องประดับนั้นแล
  • เขาทำนกยูงตัวหนึ่งไว้
    • นกยูงนั้นสถิตอยู่ท่ามกลางกระหม่อมแห่งนางวิสาขา ปรากฏประหนึ่งนกยูงยืนรำแพนอยู่บนยอดเขา
    • ขนปีกทำด้วยทอง ข้างละ ๕๐๐ ขน
    • จะงอยปากทำด้วยแก้วประพาฬ
    • นัยน์ตาทำด้วยแก้วมณี, คอและแววหางก็เหมือนกัน
    • ก้านขนทำด้วยเงิน, ขาก็เหมือนกัน.
  • เครื่องประดับมีค่า ๙ โกฏิ. ท่านเศรษฐีบิดานางวิสาขาให้ ค่าบำเหน็จ แสนหนึ่ง.
  • ใช้ช่างทอง ๕๐๐ คน ใช้เวลาสร้าง ๔ เดือน

แค่อ่านก็หนักแทนแล้วครับ …

ระหว่างสร้าง มหาลดาปสาธน์

เนื่องการสร้างมหาลดาปสาธน์เป็นงานใหญ่ ต้องใช้คนเยอะมาก ทำไปทำมาฟืนหมดครับ หาฟืนมาหูงหาอาหารไม่ได้ ท่านเศรษฐีเลยให้ไปรื้อโรงช้างเก่าๆ เอาไม้มาทำฟืน แต่ทำไปได้ไม่นาน ก็ฟืนหมดอีก ท่านเศรษฐีเลยให้เปิดคลังผ้า เอาผ้าเนื้อหยาบมาชุบน้ำมันทำเป็นฟืน

นางวิสาขาสวมใส่ “มหาลดาปสาธน์” บ้างมั้ยหลังแต่งงาน?

ใส่บ่อยเลยครับ

นางวิสาขานั้นเป็นคนดี และเป็นคนดังด้วย ดังนั้นเวลาที่ไหนมีงานสำคัญๆ ก็เชิญนางวิสาขาไปร่วมงาน และ ถ้านางวิสาขาได้แต่ง มหาลดาปสาธน์ ไปออกงานเนี่ย เจ้าภาพจะถือว่าได้รับเกียรติอย่างสูงครับ

แต่ว่าชุดนี้ก็ไม่ได้ใส่เดินออกจากบ้านนะครับ มหาลดาปสาธน์เป็นเสื้อคลุมครับ ดังนั้นจะใส่ก็ค่อยคลุม พอเสร็จกิจก็ถอดออกและให้คนใช้ถือเก็บไว้

คนใช้เคยทำ “มหาลดาปสาธน์” หาย!

เรื่องมันสนุกตรงนี้หล่ะครับ มีวันนึงนางวิสาขาไปออกงานมหรสพ ก็ได้เอามหาลดาปสาธน์ไปด้วย พอเสร็จงาน ท่านกะจะแวะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า นางก็ถอดมหาลดาปสาธน์แล้วยกให้คนใช้ถือไว้

การแต่งตัวหรูหราฟูฟ่าแบบนี้เข้าวัด เป็นสิ่งไม่สมควรครับ โดยนางวิสาขาได้คิดว่า

“การที่เราสวมเครื่องประดับมีค่ามากเห็นปานนี้ไว้บนศีรษะ แล้วประดับเครื่องอลังการจนถึงหลังเท้า เข้าไปสู่วิหาร ไม่ควร”

พอเสร็จธุระท่านก็กลับ พอจะออกจากวัดมาแล้ว ก็ค่อยพบว่า คนใช้ลืมมหาลดาปสาธน์ทิ้งไว้ในวัดครับ!

เรียกได้ว่าคนใช้งานเข้าเต็มๆ

แต่นางวิสาขาก็ไม่ได้ว่าอะไรครับ ก็บอกว่า ให้คนใช้กลับเข้าไปเอาในวัด แต่ถ้าเกิดว่าพระอานนท์เก็บได้เนี่ย ก็ยกถวายพระอานนท์ไปเลย

คนใช้ก็รีบกลับเข้าไปในวัด … แต่ปรากฏว่า มหาลดาปสาธน์นั้น พระอานนท์มาพบและเก็บไว้แล้ว … คนใช้เดินร้องไห้ออกจากวัดเลยครับ เข้าไปหานางวิสาขา และบอกว่า พระอานนท์เก็บได้แล้ว

คนใช้เสียใจมากที่ตัวเองเลินเล่อ จนเจ้านายต้องเสียเครื่องประดับที่มีค่าไป  พร้อมทั้งบอกให้นางวิสาขาลงโทษตัวเองให้เต็มที่

แต่นางวิสาขาก็ไม่ว่าอะไรครับ ท่านก็กลับเข้าไปในวัด ไปพบพระอานนท์และก็ถวายมหาลดาปสาธน์ให้กับพระอานนท์

แต่พระอานนท์ท่านก็ไม่รับครับ บอกว่า ท่านจะเอามหาลดาปสาธน์ไปทำไม

ประกาศขายมหาลดาปสาธน์!

เมื่อพระอานนท์ไม่รับ นางวิสาขาก็ต้องเอามหาลดาปสาธน์กลับบ้าน แต่เนื่องจากตัวเองได้ตั้งใจไว้แล้วว่าจะถวายมหาลดาปสาธน์ ดังนั้นจะเก็บไว้ก็ใช่ที นางวิสาขาเลยประกาศขายมหาลดาปสาธน์! โดยกะว่า เงินที่ได้มาก็จะเอาไปทำบุญ

แต่ใครจะกล้าซื้อหล่ะครับ จริงแล้วคนที่พอมีเงินก็พอมีอยู่บ้าง แต่เค้าก็รู้กันว่า ไม่เหมาะที่จะมาซื้อมหาลดาปสาธน์ เพราะนี่คือเครื่องประดับทรงค่าของนางวิสาขา ที่คนเคารพทั้งบ้านทั้งเมือง ขืนใครซื้อมหาลดาปสาธน์แล้วเอาไปใส่ คงโดยชาวบ้านนินทาตายครับ

จนแล้วจนรอดก็ไม่มีใครซื้อมหาลดาปสาธน์

นางประกาศซื้อมหาลดาปสาธน์ของตัวเอง!

เอาสิครับ เมื่อมีใครซื้อ นางวิสาขาเลยแก้ปัญหาด้วยการ ประกาศว่า ขอซื้อเอง! โดยนางซื้อมหาลดาปสาธน์ของตัวเองคืนหลังจากที่ตัวเองประกาศขายไป​ โดยซื้อเป็นราคา  ๙ โกฏิ ๑ แสน!

แล้วเงิน ๙ โกฏิ ๑ แสนจะเอาไปทำอะไรหล่ะ ในเมื่อนางวิสาขาวิสาขาเป็นทั้งผู้ขายและผู้ซื้อในตัวคนเดียวกัน … นางเอาเงินจำนวนมหาศาลนั้นไปทำบุญครับ แต่ว่า ระดับนางวิสาขานั้นไม่ได้ทำบุญกระจอกๆอยู่แล้ว

เอาค่าซื้อมหาลดาปสาธน์ไปสร้างวัด

นางวิสาขาเอาเงินทั้งหมดนั้นไปสร้างวัดครับ วัดนั้นชื่อว่า บุพพาราม ครับ เงินค่าซื้อมหาลดาปสาธน์ ๙ โกฏิ นั้น นางเอาไปซื้อที่ดินครับ ใช้เงินอีก ๙ โกฏิ สร้างวัด และ ใช้เงินอีก ๙ โกฏิ ในการเฉลิมฉลอง

เบ็ดเสร็จนางวิสาขาให้เงินสร้างวัดไป ๒๗ โกฏิ

ตอนสร้างวัดเสร็จนางวิสาขาดีใจ ปลื้มใจมากๆครับ เพราะนี้คือบุญใหญ่สุดๆที่นางปรารถมานาน จนถึงขนาดที่ว่าในวัดฉลองวัดเสร็จ นางเดินรอบๆวัดและเปล่งวาจาว่า

ความดำริของเราว่า ‘เมื่อไร เราจักถวายปราสาทใหม่ ฉาบด้วยปูนขาวและดิน เป็นวิหารทาน’ ดังนี้ บริบูรณ์แล้ว.
ความดำริของเราว่า ‘เมื่อไร เราจักถวายเตียงตั่งฟูก และ หมอนเป็นเสนาสนภัณฑ์’ ดังนี้ บริบูรณ์แล้ว.
ความดำริของเราว่า ‘เมื่อไร เราจักถวายสลากภัตผสมด้วยเนื้ออันสะอาด เป็นโภชนทาน’ ดังนี้ บริบูรณ์แล้ว.
ความดำริของเราว่า ‘เมื่อไร เราจักถวายผ้ากาสิกพัสตร์ ผ้าเปลือกไม้และผ้าฝ้าย เป็นจีวรทาน’ ดังนี้ บริบูรณ์แล้ว.
ความดำริของเราว่า ‘เมื่อไร เราจักถวายเนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำมันและน้ำอ้อย เป็นเภสัชทาน’ ดังนี้ บริบูรณ์แล้ว.

บุปผารามเนี่ยก็ไม่ใช่วัดธรรมดาๆนะครับ ในเวลาต่อมาพระพุทธเจ้าท่านก็มาประทับบ่อยมาก บ่อยขนาดนี้ท่านมาอยู่เป็นประจำ รองแค่วัดเชตวันของอนาถบิณฑิกเศรษฐี

***************************************************************************************************

จบแล้วครับ วันนี้ยาวหน่อยนะครับ ผมพยายามจะเล่าให้ย่อๆแล้วนะครับ จริงแล้วยังมีรายละเอียดอีกมากของนางวิสาขา แต่ว่าก็เอามาเขียนแค่ส่วนของมหาลดาปสาธน์

อ้างอิง 

  1. http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=8
  2. หนังสือเรื่องพระอานนท์พุทธอนุชา

ที่มารูปครับ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=fasaiwonmai&month=01-02-2012&group=17&gblog=47

 
5 Comments

Posted by on February 2, 2013 in Uncategorized

 

Tags: , ,